ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)
นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=fino4710&date=14-03-2009&group=55&gblog=9
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
มวยไทยคืออะไร
มวยไทย (Muay Thai) คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (Martial Art) และเป็นกีฬา (Sport) ประจำชาติไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณมวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ร้ายกาจ รุนแรง มหัศจรรย์ แตกต่างจากศิลปะการต่อสู้ของชนชาติอื่นใด เพราะมวยไทยเป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธธรรมชาติ ใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นอาวุธได้หลากหลายชนิดมากกว่า เช่น หมัด ศอก เข่า เท้า เข้าทำอันตรายคู่ต่อสู้ โดยปราศจากการใช้อาวุธวัตถุใดๆ จากภายนอก
ศิลปะมวยไทย เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธมือเปล่า ทั้งในระยะห่างตัว ระยะใกล้ตัว และระยะประชิดตัว จนได้รับการยอมรับว่า เป็นการต่อสู้ที่ผสมผสานของศาสตร์และศิลป์ได้อย่างสวยงามและอันตรายยิ่ง
ในปัจจุบันมวยไทยได้รับการยอมรับและแพร่หลายไปทั่วโลก มวยไทยเป็นทั้งศิลปะการต่อสู้เพื่อป้องกันตนเอง (Self defense) และเป็นทั้งกีฬาสมัครเล่นและอาชีพ (Amateur and professional)
มวยไทย : วัฒนธรรมไทย มรดกไทย ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทย และเอกลักษณ์ไทยที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก ทุกคนควรภาคภูมิใจสืบทอดและรักษาไว้
ศิลปะมวยไทย เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธมือเปล่า ทั้งในระยะห่างตัว ระยะใกล้ตัว และระยะประชิดตัว จนได้รับการยอมรับว่า เป็นการต่อสู้ที่ผสมผสานของศาสตร์และศิลป์ได้อย่างสวยงามและอันตรายยิ่ง
ในปัจจุบันมวยไทยได้รับการยอมรับและแพร่หลายไปทั่วโลก มวยไทยเป็นทั้งศิลปะการต่อสู้เพื่อป้องกันตนเอง (Self defense) และเป็นทั้งกีฬาสมัครเล่นและอาชีพ (Amateur and professional)
มวยไทย : วัฒนธรรมไทย มรดกไทย ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทย และเอกลักษณ์ไทยที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก ทุกคนควรภาคภูมิใจสืบทอดและรักษาไว้
ประวัติแม่ไม้มวยไทย
มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยใดไม่มีเอกสารหรือหนังสือเล่มใดระบุไว้ แต่เท่าที่ได้ปรากฏมวยไทยเกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมานานพร้อม ๆ กับชาติไทยด้วยซ้ำ เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปะประจำชาติและเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันมวยไทยสมัยก่อนมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร การรบกับประเทศเพื่อนบ้านสมัยนั้นยังไม่มีปืนเป็นอาวุธ มีแต่ดาบ พลอง ง้าว ดั้ง เขน การรบในสมัยนั้นจึงเป็นการรบที่ประชิดตัวด้วยอาวุธในมือ คนไทยจึงได้ฝึกหัดการเตะถีบคู่ต่อสู้ เพื่อให้เกิดการได้เปรียบเพิ่มขึ้นจากการใช้อาวุธในมือดังกล่าวต่อมามีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะนำการถีบการเตะนั้นมาเป็นศิลปะการต่อสู้ไปพร้อมกับมือได้ จึงได้เกิดการฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัว เพื่อแสดงตามงานเทศกาลต่าง ๆ เมื่อเป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้นก็มีการฝึกหัดและจัดตั้งเป็นสำนักฝึกมวยไทยกันมากมาย และสำนักที่ฝึกมวยไทยก็จะเป็นสำนักดาบที่มีชื่อเสียงมีอาจารย์ดี ๆ เป็นผู้ฝึกสอน ดังนั้นการฝึกมวยไทยในสมัยนั้นจึงมีจุดมุ่งหมาย 2 อย่าง คือ
1. เพื่อสู้รบกับข้าศึก
2. เพื่อต่อสู้ป้องกันตัว
ในสมัยนั้นใครมีเพลงดาบดีและเก่งทางรบพุ่งก็จะต้องเก่งทางมวยไทยด้วย เพราะการรบด้วยอาวุธในมือนั้นต้องอาศัยมวยไทยเข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยนั้นจึงมีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อที่จะฝึกตนเองเข้าไปเป็นทหารรับใช้ชาติการฝึกวิชามวยและเพลงดาบไม่ได้ฝึกเพื่อเตรียมตัวไปเป็นทหารหรือการสู้รบเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อว่างเว้นสงครามก็จะมีการประลองการต่อสู้ ทั้งกระบี่กระบองและมวยไทย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินและอาจมีการพนันกันระหว่างนักมวยแต่ละถิ่นหรือแต่ละสำนักที่ต่อสู้กัน และมวยไทยสมัยนั้นชกกันด้วยหมัดเปล่าๆ ยังไม่มีการคาดเชือกตามประวัติศาสตร์ที่พอจะสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับมวยไทยได้นั้น ปรากฏว่ามวยไทยได้วิวัฒนาการมาตามยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้
สมัยอาณาจักรน่านเจ้าพ.ศ. 1291 พระเจ้าพีล่อโก๊ะ ได้รวบรวมอาณาจักรไทยขึ้น เรียกว่าอาณาจักรน่านเจ้า สมัยนี้ไทยต้องทำสงครามกับจีนอยู่เป็นเวลานาน บางครั้งก็เป็นมิตรบางครั้งก็เป็นศัตรูกัน สมัยนั้นมีการฝึกใช้อาวุธบนหลังม้า เช่น หอก ง้าว และการต้อสู้ด้วยมือเปล่าก็มีอยู่บ้าง ในระยะประชิดตัว ซึ่งมวยไทยก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นอยู่ด้วย ในสมัยล้านนาไทยก็ได้มีวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวและมีวิชาเจิ้ง(การต่อสู้ชนิดนึ่งคล้ายๆมวยจีน)
สมัยกรุงสุโขทัย
พ.ศ.1781 - 1921 ในสมัยสุโขทัยนี้ การต่อสู้มือเปล่าด้วยวิชามวยไทย ก็มีใช้อยู่ในการต่อสู้กับข้าศึกและเป็นการใช้ร่วมกับอาวุธมือถือชนิดต่างๆสถานที่ที่เป็นสำนักฝึกสอนวิชามวยไทยในสมัยนี้ ได้แก่ วัด บ้าน สำนักราชบัณฑิตที่เปิดสอนวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวรวมอยู่ด้วย
สมัยกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.1893 - 2310 สมัยนี้มีการถ่ายทอดวิชาการต่างๆมาจากสมัยสุโขทัยอย่างต่อเนื่อง เช่นการล่าสัตว์ การคล้องช้าง การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆและวัดก็ยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและฝึกความชำนาญในเชิงดาบ กระบี่กระบอง กริช มวยไทย ยิงธนู เป็นต้น
พ.ศ. 2174 - 2233 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่าเจริญที่สุดมีกีฬาหลายอย่างในสมัยนี้ เช่น การแข่งเรือ การชกมวย สมัยพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระองค์ทรงชอบกีฬาชกมวยมาก ครั้งหนึ่งพระองค์พร้อมด้วยมหาดเล็ก 4 คน แต่งกายแบบชาวบ้านนอกไปเที่ยวงานมหรสพที่ตำบลราดรวด แล้วพระองค์ก็สมัครชกมวยในงานนั้น ในนามว่า นายเดื่อ โดยไม่เกี่ยงว่าคู่ต่อสู้จะเป็นใคร พอทางสนามรู้ว่าพระองค์เป็นนักมวยมาจากอยุธยาจึงได้จัดนักมวยฝีมือดีจากเมืองวิเศษไชยชาญที่มีอยู่ ได้แก่ นายกลางหมัดมวย นายใหญ่หมัดเหล็ก นายเล็กหมัดหนัก ชกกับพระเจ้าเสือ และพระองค์ก็ชกชนะทั้งสามคนรวดนายขนมต้ม หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ. 2310 คนไทยถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยมาก ครั้นต่อมามีการจัดงานเฉลิมฉลองพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่กรุงร่างกุ้ง
พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่า ได้สั่งให้จัดมวยหน้าพระที่นั่งขึ้น เพื่อชมนักมวยไทยชกกับนักมวยพม่า
ในครั้งนั้น สุกี้ พระนายกองค่ายโพธิ์สามต้น ที่ได้กวาดต้อนนักมวยชาวไทยไว้ที่กรุงอังวะหลายคน รวมทั้งนายขนมต้ม ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์มวยไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันเมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้จัดนักมวยพม่าเปรียบกับนักมวยไทย คนไทยในพม่าก็ได้ส่งนายขนมต้มผู้มีรูปร่างล่ำสัน บึกบึน ผิวดำ เข้าไปจับคู่กับนักมวยพม่า กรรมการนำนักมวยไทยออกมากลางลานและประกาศชื่อนายขนมต้มว่าเป็นนักมวยมีชื่อจากกรุงศรีอยุธยา เชลยไทยที่มุงดูพากันโห่ร้องเพื่อเป็นกำลังใจ
นายขนมต้มได้ใช้วิชาศิลปะมวยไทยเข้าต่อสู้สามารถเอาชนะนักมวยพม่าต่อเนื่องได้ถึง10 คน (ตามสำนวนพงศาวดาร) จนไม่มีนักมวยพม่าคนใดกล้าต่อสู้อีก สร้างความประทับใจให้กับพระเจ้ามังระยิ่งนัก ถึงกับตรัสชมเชยว่า " คนไทยถึงแม้จะไม่มีอาวุธในมือ มีเพียงมือเปล่า 2 ข้าง ก็ยังมีพิษรอบตัวหากมีเจ้านายดีที่ไหนจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่เราได้…"พระเจ้ามังระจึงทรงมอบเงินและภรรยาให้ 2 คน เป็นรางวัล กาลเวลาต่อมานายขนมต้มก็ได้นำเอาสองศรีภรรยาเข้ามาตั้งรกรากในไทยจนถึงบั้นปลายของชีวิต นายขนมต้มจึงเป็นนักมวยเอกคนแรกของไทยที่ได้ไปประกาศฝีไม้ลายมือมวยไทยในต่างแดน และยังเปรียบเสมือนกับเป็นบิดาวิชามวยไทยมาจนเท่าทุกวันนี้อนึ่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มวยไทยชกกันด้วยการคาดเชือก เรียกว่า มวยคาดเชือกซึ่งใช้เชือกหรือผ้าพันมือ บากครั้งการชกอาจจะถึงตาย เพราะเชือกที่ใช้คาดมือนั้นบางครั้งใช้น้ำมันชุบเศษแก้วละเอียด ชกถูกตรงไหนเป็นได้เลือดตรงนั้น นับว่าการชกมวยคาดเชือกนั้นมีอันตรายมากตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา ปรากฏว่ามีกรมนักมวยที่เรียก ทนายเลือก พวกนี้มีหน้าที่แวดล้อมองค์พระมหากษัตริย์คอยป้องกันอันตรายในระยะประชิดพระองค์ โดยไม่ใช้อาวุธอื่นใดนอกจากมือเปล่า กรมนี้มีอยู่ต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์บางองค์ทรงเป็นนักมวยมีฝีมือ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ พระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้น
สมัยกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2314 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย (นายทองดี ฟันขาว) ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี(พระเจ้าตากสิน) ได้โปรดให้ครองเมืองพิชัยอยู่นั้นได้นำทัพออกต่อสู้กับพม่าจนดาบหัก แต่ก็สามารถป้องกันเมืองพิชัยเอาไว้ได้ ประชาชนทั่วไปจึงเรียกว่า พระยาพิชัยดาบหัก ตั้งแต่นั้นมา
เรื่องของพระยาพิชัยดาบหัก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ก่อนกรุงแตกเป็นยุคสงครามกับพม่า มีหนุ่มชาวบ้านห้วยคาเมืองพิชัย หรืออุตรดิตถ์ ชื่อนายจ้อย หรือ ทองดี ฟันชาว เป็นผู้สนใจในวิชาเพลงมวย เที่ยวเสาะหาวิชาไปตามสำนักต่าง ๆ จนมีฝีมือพอตัว จึงเที่ยวเปรียบหาคูชกจนมีชื่อเสียงโด่งดังและได้ฝากตัวอยู่กับพระยาตาก ซึ่งต่อมาคือพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้ทรงแต่งตั้งนายทองดีไปครองเมืองพิชัยและมีความชอบได้เป็นถึงพระยาพิชัย ในเวลาต่อมาแม้กระทั่งในตระกูลของพระยาพิชัยดาบหัก เมื่อรับราชการมาจนถึงรัชกาลที่ 6 ก็ได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า วิชัยขัทคะ แปลว่า ดาบวิเศษของพระยาพิชัย สมัยกรุงธนบุรี มีการเล่นกีฬามวยไทย กระบี่กระบอง แข่งเรือ ว่าว ตะกร้อ หมากรุก ชักคะเย่อ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ.2325 ในระยะต้น รัชกาลที่ 1 - 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์ไทยที่ทรงโปรดการกีฬามาก เช่น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดกีฬามวยไทยอย่างต่อเนื่อง ในสมัยนี้ได้มีฝรั่งสองคนพี่น้องเข้ามาหาคู่ชกมวยชนิดมีเดิมพัน พระองค์ได้จัดส่งหมื่นผลาญนักมวยผู้เก่งกาจขึ้นชกกับฝรั่งสองพี่น้อง แม้หมื่นผลาญจะมีร่างกายเล็กเสียเปรียบฝรั่งมาก แต่ด้วยศิลปะมวยไทย อาวุธหมัด เท้า เข่า ศอก ฝรั่งสองพี่น้องจึงพ่ายแพ้ยับเยินกลับไป สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์หัดเล่นกระบี่กระบอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีความชำนาญในกีฬามวยไทยจึงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยขึ้นในชนบทและในกรุง นอกจากนี้ได้ทรงแต่งตั้งผู้มีฝีมือในกีฬามวยให้เป็นหัวหน้าในการจัดกีฬา และให้มียศตำแหน่งด้วย เช่น พระไชยโชคชกชนะ แห่งพระนคร, หมื่นมวยมีชื่อ จากไชยา,หมื่นมวยแม่นหมัด จากลพบุรี, หมื่นชงัด เชิงชก จากโคราช
การจัดการแข่งขันมวยไทย
การแข่งขันมวยไทยครั้งสมัยโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีกติกาแน่นอนอย่างไรบ้าง ผู้มีอำนาจเด็ดขาด ได้แก่ นายสนามมวย แต่เมื่อมวยสากลได้รับการเผยแพร่เข้ามาครั้งแรก โดยหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล เมื่อ พ.ศ. 2455 ทางวงการมวยไทยจึงได้วางกติกาขึ้น ซึ่งการชกในสมัยนี้ก็ยังคงมีการคาดเชือกกันอยู่ ต่อมาจึงได้สวมนวมชกกัน แต่การชกก็ยังเหมือนเดิม คือยังใช้การถีบ เตะ ชก ศอก เข่า ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมวยไทยเป็นกีฬาที่เก่าที่สุดของเรา ได้วิวัฒนาการในเรื่องของกติกาและการจัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน โดยย่อ ๆ ดังนี้
พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทยได้ร่างกติกาคุ้มครองมวยไทยและมวยสากล เพื่อเป็นการแข่งขันชั่วคราว
พ.ศ.2479 กรมพลศึกษา มีหน้าที่ในการจัดการแข่งขันมวยโดยตรง ได้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ่งทำการปรับปรุงแก้ไขกติกามวยไทยและมวยสากล และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2480 เป็นต้นมา และได้จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2482
การแข่งขันที่เป็นหลักฐานเริ่มอย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 6 (ก่อนหน้านี้ขึ้นไปไม่มีหลักฐานที่แน่นอน) ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 5 สมัย ดังนี้
1. สมัยสวนกุหลาบ สมัยนี้ประชาชนนิยมการชกมวย และชมการแข่งขันชกมวยกันเป็นจำนวนมาก การชกมวยไทยในสมัยนี้ยังมีการคาดเชือก (นักมวยสมัยเก่าใช้ด้ายดิบเส้นโตขนาดดินสอดำชุบแป้งให้แข็ง พันมือตั้งแต่สันมือตลอดถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อนิ้วมือหรือสันหมัด เป็นรูปก้นหอย ที่เรียกกันว่า"คาดเชือก") การชกได้กำหนดจำนวนยกไว้แน่นอนแล้ว มีกรรมการชี้ขาด ผู้ตัดสินส่วนมากนั่งอยู่ข้างเวทีและให้อาณัติสัญญาณนักมวยหยุดชกด้วยเสียงหรือนกหวีด
2. สมัยท่าช้าง ในสมัยนี้เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ จากการคาดเชือกมาเป็นสวมนวม (พ.ศ. 2462) สมัยนี้ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรในที่สุดสนามก็เลิกไป กรรมการผู้ชี้ขาดที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ก็คือ นายทิม อติเปรมานนท์ และนายนิยม ทองชิตร์
3. สมัยสวนสนุก การจัดการแข่งขันในสมัยนี้นายสนามดำเนินงานได้ดี และยืนยาวอยู่หลายปี นักมวยที่มีชื่อเสียง เช่น สมาน ดิลกวิลาศ และสมพงศ์ เวชชสิทธิ์ สมัยนี้มีการแข่งขันทั้งมวยไทยและมวยสากล กรรมการผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หลวงพิพัฒน์ พลกาย นายสุนทร ทวีสิทธิ์ (ครูกิมเส็ง) และ นายนิยม ทองชิตร์
4. สมัยหลักเมืองและสวนเจ้าเชษฐ์ การแข่งขันชกมวยในสมัยนี้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะทางราชการทหารเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือ และมีผลเป็นรายได้บำรุงกองทัพจำนวนมาก นักมวยที่มีชื่อในยุคนี้ได้แก่
สุข ปราสาทหินพิมาย ผล พระประแดง เพิก สิงหพัลลภ ประเสริฐ ส.ส. ถวัลย์ วงศ์เทเวศน์ และทองใบ
ยนตรกิจ การแข่งขันสมัยนี้ดำเนินมาหลายปีจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เลิกไป กรรมการผู้ตัดสินในสมัยนี้ได้แก่ นายสังเวียน หิรัญเลขา นายเจือ จักษุรักษ์ และนายวงศ์ หิรัญเลขา
5. สมัยปัจจุบัน ได้ทำการแข่งขัน ณ เวทีราชดำเนินและเวทีลุมพีนีเป็นประจำ และยังมีเวทีมวยที่เปิดการแข่งขันถาวรและชั่วคราวทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดอีกมากมาย
ปัจจุบันมี พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 มีสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย สำนักงานกีฬาอาชีพ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นี้ ให้มีหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง สนับสนุน และควบคุมกิจการมวยในประเทศไทยให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของวงการมวยเมืองไทย
หนังสืออ้างอิง
จรวย แก่นวงษ์คำ มวยไทย มวยสากล โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ 2530
ปัญญา ไกรทัศน์ มวยไทยยอดศิลปการต่อสู้ พิมพ์ครั้งที่ 5 สารมวลชน 2530
สมบัติ จำปาเงิน กีฬาไทย สุวีริยาสาส์น กรุงเทพฯ 2523
หมายเหตุ
มวยไทยปัจจุบันได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปทั่วโลกทุกทวีป ชาวต่างชาติทั้งชาย-หญิง ได้นำวิชามวยไทยไปฝึกเพื่อศิลปะการต่อสู้ป้องกันตนเอง(Self-defense) และมีนักกีฬามวยไทยทั้งในระดับสมัครเล่นและอาชีพ (Amateur and professional)นักกีฬามวยไทยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ไม่ใช่มีแต่นักมวยไทยเท่านั้น นักมวยต่างชาติที่มีฝีมือมีศิลปะมวยไทยดีกว่า จนสามารถเอาชนะนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงก็มีไม่น้อยตรงกันข้ามกับการฝึกมวยไทยของเราที่เราเป็นต้นตำรับ เราฝึกเพื่อส่งเข้าแข่งขัน เล่นการพนัน มีแต่ใช้กำลังเข้ากอดปล้ำตีเข่ากันอย่างเดียว ไม่มีศิลปะแม่ไม้มวยไทยเช่นแต่ก่อน จึงเป็นจุดเสื่อมของมวยไทยตามทัศนะของบุคคลที่ได้รวบรวมไว้ในหัวข้อ "มวยไทยปัจจุบัน : ภาพลักษณ์การพนันและสิ้นยุคพัฒนาการ" เพื่อเป็นข้อสังเกตุ วิเคราะห์ และหาแนวทางพัฒนาศิลปะมวยไทยของเราต่อไป
1. เพื่อสู้รบกับข้าศึก
2. เพื่อต่อสู้ป้องกันตัว
ในสมัยนั้นใครมีเพลงดาบดีและเก่งทางรบพุ่งก็จะต้องเก่งทางมวยไทยด้วย เพราะการรบด้วยอาวุธในมือนั้นต้องอาศัยมวยไทยเข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยนั้นจึงมีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อที่จะฝึกตนเองเข้าไปเป็นทหารรับใช้ชาติการฝึกวิชามวยและเพลงดาบไม่ได้ฝึกเพื่อเตรียมตัวไปเป็นทหารหรือการสู้รบเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อว่างเว้นสงครามก็จะมีการประลองการต่อสู้ ทั้งกระบี่กระบองและมวยไทย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินและอาจมีการพนันกันระหว่างนักมวยแต่ละถิ่นหรือแต่ละสำนักที่ต่อสู้กัน และมวยไทยสมัยนั้นชกกันด้วยหมัดเปล่าๆ ยังไม่มีการคาดเชือกตามประวัติศาสตร์ที่พอจะสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับมวยไทยได้นั้น ปรากฏว่ามวยไทยได้วิวัฒนาการมาตามยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้
สมัยอาณาจักรน่านเจ้าพ.ศ. 1291 พระเจ้าพีล่อโก๊ะ ได้รวบรวมอาณาจักรไทยขึ้น เรียกว่าอาณาจักรน่านเจ้า สมัยนี้ไทยต้องทำสงครามกับจีนอยู่เป็นเวลานาน บางครั้งก็เป็นมิตรบางครั้งก็เป็นศัตรูกัน สมัยนั้นมีการฝึกใช้อาวุธบนหลังม้า เช่น หอก ง้าว และการต้อสู้ด้วยมือเปล่าก็มีอยู่บ้าง ในระยะประชิดตัว ซึ่งมวยไทยก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นอยู่ด้วย ในสมัยล้านนาไทยก็ได้มีวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวและมีวิชาเจิ้ง(การต่อสู้ชนิดนึ่งคล้ายๆมวยจีน)
สมัยกรุงสุโขทัย
พ.ศ.1781 - 1921 ในสมัยสุโขทัยนี้ การต่อสู้มือเปล่าด้วยวิชามวยไทย ก็มีใช้อยู่ในการต่อสู้กับข้าศึกและเป็นการใช้ร่วมกับอาวุธมือถือชนิดต่างๆสถานที่ที่เป็นสำนักฝึกสอนวิชามวยไทยในสมัยนี้ ได้แก่ วัด บ้าน สำนักราชบัณฑิตที่เปิดสอนวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวรวมอยู่ด้วย
สมัยกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.1893 - 2310 สมัยนี้มีการถ่ายทอดวิชาการต่างๆมาจากสมัยสุโขทัยอย่างต่อเนื่อง เช่นการล่าสัตว์ การคล้องช้าง การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆและวัดก็ยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและฝึกความชำนาญในเชิงดาบ กระบี่กระบอง กริช มวยไทย ยิงธนู เป็นต้น
พ.ศ. 2174 - 2233 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่าเจริญที่สุดมีกีฬาหลายอย่างในสมัยนี้ เช่น การแข่งเรือ การชกมวย สมัยพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระองค์ทรงชอบกีฬาชกมวยมาก ครั้งหนึ่งพระองค์พร้อมด้วยมหาดเล็ก 4 คน แต่งกายแบบชาวบ้านนอกไปเที่ยวงานมหรสพที่ตำบลราดรวด แล้วพระองค์ก็สมัครชกมวยในงานนั้น ในนามว่า นายเดื่อ โดยไม่เกี่ยงว่าคู่ต่อสู้จะเป็นใคร พอทางสนามรู้ว่าพระองค์เป็นนักมวยมาจากอยุธยาจึงได้จัดนักมวยฝีมือดีจากเมืองวิเศษไชยชาญที่มีอยู่ ได้แก่ นายกลางหมัดมวย นายใหญ่หมัดเหล็ก นายเล็กหมัดหนัก ชกกับพระเจ้าเสือ และพระองค์ก็ชกชนะทั้งสามคนรวดนายขนมต้ม หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ. 2310 คนไทยถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยมาก ครั้นต่อมามีการจัดงานเฉลิมฉลองพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่กรุงร่างกุ้ง
พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่า ได้สั่งให้จัดมวยหน้าพระที่นั่งขึ้น เพื่อชมนักมวยไทยชกกับนักมวยพม่า
ในครั้งนั้น สุกี้ พระนายกองค่ายโพธิ์สามต้น ที่ได้กวาดต้อนนักมวยชาวไทยไว้ที่กรุงอังวะหลายคน รวมทั้งนายขนมต้ม ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์มวยไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันเมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้จัดนักมวยพม่าเปรียบกับนักมวยไทย คนไทยในพม่าก็ได้ส่งนายขนมต้มผู้มีรูปร่างล่ำสัน บึกบึน ผิวดำ เข้าไปจับคู่กับนักมวยพม่า กรรมการนำนักมวยไทยออกมากลางลานและประกาศชื่อนายขนมต้มว่าเป็นนักมวยมีชื่อจากกรุงศรีอยุธยา เชลยไทยที่มุงดูพากันโห่ร้องเพื่อเป็นกำลังใจ
นายขนมต้มได้ใช้วิชาศิลปะมวยไทยเข้าต่อสู้สามารถเอาชนะนักมวยพม่าต่อเนื่องได้ถึง10 คน (ตามสำนวนพงศาวดาร) จนไม่มีนักมวยพม่าคนใดกล้าต่อสู้อีก สร้างความประทับใจให้กับพระเจ้ามังระยิ่งนัก ถึงกับตรัสชมเชยว่า " คนไทยถึงแม้จะไม่มีอาวุธในมือ มีเพียงมือเปล่า 2 ข้าง ก็ยังมีพิษรอบตัวหากมีเจ้านายดีที่ไหนจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่เราได้…"พระเจ้ามังระจึงทรงมอบเงินและภรรยาให้ 2 คน เป็นรางวัล กาลเวลาต่อมานายขนมต้มก็ได้นำเอาสองศรีภรรยาเข้ามาตั้งรกรากในไทยจนถึงบั้นปลายของชีวิต นายขนมต้มจึงเป็นนักมวยเอกคนแรกของไทยที่ได้ไปประกาศฝีไม้ลายมือมวยไทยในต่างแดน และยังเปรียบเสมือนกับเป็นบิดาวิชามวยไทยมาจนเท่าทุกวันนี้อนึ่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มวยไทยชกกันด้วยการคาดเชือก เรียกว่า มวยคาดเชือกซึ่งใช้เชือกหรือผ้าพันมือ บากครั้งการชกอาจจะถึงตาย เพราะเชือกที่ใช้คาดมือนั้นบางครั้งใช้น้ำมันชุบเศษแก้วละเอียด ชกถูกตรงไหนเป็นได้เลือดตรงนั้น นับว่าการชกมวยคาดเชือกนั้นมีอันตรายมากตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา ปรากฏว่ามีกรมนักมวยที่เรียก ทนายเลือก พวกนี้มีหน้าที่แวดล้อมองค์พระมหากษัตริย์คอยป้องกันอันตรายในระยะประชิดพระองค์ โดยไม่ใช้อาวุธอื่นใดนอกจากมือเปล่า กรมนี้มีอยู่ต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์บางองค์ทรงเป็นนักมวยมีฝีมือ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ พระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้น
สมัยกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2314 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย (นายทองดี ฟันขาว) ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี(พระเจ้าตากสิน) ได้โปรดให้ครองเมืองพิชัยอยู่นั้นได้นำทัพออกต่อสู้กับพม่าจนดาบหัก แต่ก็สามารถป้องกันเมืองพิชัยเอาไว้ได้ ประชาชนทั่วไปจึงเรียกว่า พระยาพิชัยดาบหัก ตั้งแต่นั้นมา
เรื่องของพระยาพิชัยดาบหัก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ก่อนกรุงแตกเป็นยุคสงครามกับพม่า มีหนุ่มชาวบ้านห้วยคาเมืองพิชัย หรืออุตรดิตถ์ ชื่อนายจ้อย หรือ ทองดี ฟันชาว เป็นผู้สนใจในวิชาเพลงมวย เที่ยวเสาะหาวิชาไปตามสำนักต่าง ๆ จนมีฝีมือพอตัว จึงเที่ยวเปรียบหาคูชกจนมีชื่อเสียงโด่งดังและได้ฝากตัวอยู่กับพระยาตาก ซึ่งต่อมาคือพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้ทรงแต่งตั้งนายทองดีไปครองเมืองพิชัยและมีความชอบได้เป็นถึงพระยาพิชัย ในเวลาต่อมาแม้กระทั่งในตระกูลของพระยาพิชัยดาบหัก เมื่อรับราชการมาจนถึงรัชกาลที่ 6 ก็ได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า วิชัยขัทคะ แปลว่า ดาบวิเศษของพระยาพิชัย สมัยกรุงธนบุรี มีการเล่นกีฬามวยไทย กระบี่กระบอง แข่งเรือ ว่าว ตะกร้อ หมากรุก ชักคะเย่อ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ.2325 ในระยะต้น รัชกาลที่ 1 - 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กษัตริย์ไทยที่ทรงโปรดการกีฬามาก เช่น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดกีฬามวยไทยอย่างต่อเนื่อง ในสมัยนี้ได้มีฝรั่งสองคนพี่น้องเข้ามาหาคู่ชกมวยชนิดมีเดิมพัน พระองค์ได้จัดส่งหมื่นผลาญนักมวยผู้เก่งกาจขึ้นชกกับฝรั่งสองพี่น้อง แม้หมื่นผลาญจะมีร่างกายเล็กเสียเปรียบฝรั่งมาก แต่ด้วยศิลปะมวยไทย อาวุธหมัด เท้า เข่า ศอก ฝรั่งสองพี่น้องจึงพ่ายแพ้ยับเยินกลับไป สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์หัดเล่นกระบี่กระบอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีความชำนาญในกีฬามวยไทยจึงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยขึ้นในชนบทและในกรุง นอกจากนี้ได้ทรงแต่งตั้งผู้มีฝีมือในกีฬามวยให้เป็นหัวหน้าในการจัดกีฬา และให้มียศตำแหน่งด้วย เช่น พระไชยโชคชกชนะ แห่งพระนคร, หมื่นมวยมีชื่อ จากไชยา,หมื่นมวยแม่นหมัด จากลพบุรี, หมื่นชงัด เชิงชก จากโคราช
การจัดการแข่งขันมวยไทย
การแข่งขันมวยไทยครั้งสมัยโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีกติกาแน่นอนอย่างไรบ้าง ผู้มีอำนาจเด็ดขาด ได้แก่ นายสนามมวย แต่เมื่อมวยสากลได้รับการเผยแพร่เข้ามาครั้งแรก โดยหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล เมื่อ พ.ศ. 2455 ทางวงการมวยไทยจึงได้วางกติกาขึ้น ซึ่งการชกในสมัยนี้ก็ยังคงมีการคาดเชือกกันอยู่ ต่อมาจึงได้สวมนวมชกกัน แต่การชกก็ยังเหมือนเดิม คือยังใช้การถีบ เตะ ชก ศอก เข่า ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมวยไทยเป็นกีฬาที่เก่าที่สุดของเรา ได้วิวัฒนาการในเรื่องของกติกาและการจัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน โดยย่อ ๆ ดังนี้
พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทยได้ร่างกติกาคุ้มครองมวยไทยและมวยสากล เพื่อเป็นการแข่งขันชั่วคราว
พ.ศ.2479 กรมพลศึกษา มีหน้าที่ในการจัดการแข่งขันมวยโดยตรง ได้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ่งทำการปรับปรุงแก้ไขกติกามวยไทยและมวยสากล และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2480 เป็นต้นมา และได้จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2482
การแข่งขันที่เป็นหลักฐานเริ่มอย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 6 (ก่อนหน้านี้ขึ้นไปไม่มีหลักฐานที่แน่นอน) ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 5 สมัย ดังนี้
1. สมัยสวนกุหลาบ สมัยนี้ประชาชนนิยมการชกมวย และชมการแข่งขันชกมวยกันเป็นจำนวนมาก การชกมวยไทยในสมัยนี้ยังมีการคาดเชือก (นักมวยสมัยเก่าใช้ด้ายดิบเส้นโตขนาดดินสอดำชุบแป้งให้แข็ง พันมือตั้งแต่สันมือตลอดถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อนิ้วมือหรือสันหมัด เป็นรูปก้นหอย ที่เรียกกันว่า"คาดเชือก") การชกได้กำหนดจำนวนยกไว้แน่นอนแล้ว มีกรรมการชี้ขาด ผู้ตัดสินส่วนมากนั่งอยู่ข้างเวทีและให้อาณัติสัญญาณนักมวยหยุดชกด้วยเสียงหรือนกหวีด
2. สมัยท่าช้าง ในสมัยนี้เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ จากการคาดเชือกมาเป็นสวมนวม (พ.ศ. 2462) สมัยนี้ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรในที่สุดสนามก็เลิกไป กรรมการผู้ชี้ขาดที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ก็คือ นายทิม อติเปรมานนท์ และนายนิยม ทองชิตร์
3. สมัยสวนสนุก การจัดการแข่งขันในสมัยนี้นายสนามดำเนินงานได้ดี และยืนยาวอยู่หลายปี นักมวยที่มีชื่อเสียง เช่น สมาน ดิลกวิลาศ และสมพงศ์ เวชชสิทธิ์ สมัยนี้มีการแข่งขันทั้งมวยไทยและมวยสากล กรรมการผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หลวงพิพัฒน์ พลกาย นายสุนทร ทวีสิทธิ์ (ครูกิมเส็ง) และ นายนิยม ทองชิตร์
4. สมัยหลักเมืองและสวนเจ้าเชษฐ์ การแข่งขันชกมวยในสมัยนี้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะทางราชการทหารเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือ และมีผลเป็นรายได้บำรุงกองทัพจำนวนมาก นักมวยที่มีชื่อในยุคนี้ได้แก่
สุข ปราสาทหินพิมาย ผล พระประแดง เพิก สิงหพัลลภ ประเสริฐ ส.ส. ถวัลย์ วงศ์เทเวศน์ และทองใบ
ยนตรกิจ การแข่งขันสมัยนี้ดำเนินมาหลายปีจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เลิกไป กรรมการผู้ตัดสินในสมัยนี้ได้แก่ นายสังเวียน หิรัญเลขา นายเจือ จักษุรักษ์ และนายวงศ์ หิรัญเลขา
5. สมัยปัจจุบัน ได้ทำการแข่งขัน ณ เวทีราชดำเนินและเวทีลุมพีนีเป็นประจำ และยังมีเวทีมวยที่เปิดการแข่งขันถาวรและชั่วคราวทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดอีกมากมาย
ปัจจุบันมี พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 มีสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย สำนักงานกีฬาอาชีพ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นี้ ให้มีหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง สนับสนุน และควบคุมกิจการมวยในประเทศไทยให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของวงการมวยเมืองไทย
หนังสืออ้างอิง
จรวย แก่นวงษ์คำ มวยไทย มวยสากล โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ 2530
ปัญญา ไกรทัศน์ มวยไทยยอดศิลปการต่อสู้ พิมพ์ครั้งที่ 5 สารมวลชน 2530
สมบัติ จำปาเงิน กีฬาไทย สุวีริยาสาส์น กรุงเทพฯ 2523
หมายเหตุ
มวยไทยปัจจุบันได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปทั่วโลกทุกทวีป ชาวต่างชาติทั้งชาย-หญิง ได้นำวิชามวยไทยไปฝึกเพื่อศิลปะการต่อสู้ป้องกันตนเอง(Self-defense) และมีนักกีฬามวยไทยทั้งในระดับสมัครเล่นและอาชีพ (Amateur and professional)นักกีฬามวยไทยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ไม่ใช่มีแต่นักมวยไทยเท่านั้น นักมวยต่างชาติที่มีฝีมือมีศิลปะมวยไทยดีกว่า จนสามารถเอาชนะนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงก็มีไม่น้อยตรงกันข้ามกับการฝึกมวยไทยของเราที่เราเป็นต้นตำรับ เราฝึกเพื่อส่งเข้าแข่งขัน เล่นการพนัน มีแต่ใช้กำลังเข้ากอดปล้ำตีเข่ากันอย่างเดียว ไม่มีศิลปะแม่ไม้มวยไทยเช่นแต่ก่อน จึงเป็นจุดเสื่อมของมวยไทยตามทัศนะของบุคคลที่ได้รวบรวมไว้ในหัวข้อ "มวยไทยปัจจุบัน : ภาพลักษณ์การพนันและสิ้นยุคพัฒนาการ" เพื่อเป็นข้อสังเกตุ วิเคราะห์ และหาแนวทางพัฒนาศิลปะมวยไทยของเราต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)